คำเตือน

RokSprocket needs the RokCommon Library and Plug-in installed and enabled. The RokCommon System Plug-in needs to be before the RokSprocket System Plug-in in the Plug-in Manager

ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา

ตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้)
เป็นตลาดน้ำยามเย็นแห่งแรก ด้วยเสน่ห์ของบ้านเรือนสองริมฝั่งที่ยังคงความโบราณไว้เป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ

ในปีพ.ศ. 2550 ชุมชนริมคลองอัมพวา ได้รับรางวัลชมเชย (Honourable Mention) จากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปีพ.ศ. 2550 (UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Heritage Conservation) ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่า และมีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและสะท้อนถึงลักษณะสำคัญทางท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ขนมไทย อาหารทะเลเผา ก๋วยเตี๋ยวเรือ ผัดไทย หอยทอด ผลไม้ กาแฟ โอเลี้ยง ขนมใส่ไส้ ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมหวานต่างๆ  สามารถหาซื้อได้จากเรือพายของพ่อค้าแม่ค้า ชวนให้นึกถึงอดีตอันแสนคลาสิคของที่นี่เป็นอย่างดีเลยทีเดียว และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบาย ๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทาน

นอกจากนั้นสามารถนั่งเรือท่องเที่ยวตามแม่น้ำแม่กลอง และไหว้พระตามวัดริมแม่น้ำ ในตอนค่ำสามารถเช่าเรือไปเที่ยวชมดูหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ ค่าบริการคนละ 60-80 บาท

ตลาดเปิด ทุกวันศุกร์ ตลาดเริ่มตั้งแต่ประมาณ 15.00 น.
เสาร์และอาทิตย์  ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00-20.00 น.

คำแนะนำ
เดินเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาในวันหยุด ควรระมัดระวังกระเป๋าสตางค์และสิ่งของมีค่าให้ดี เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ขณะที่พื้นที่ทางเดินค่อนข้างแคบ จึงต้องเดินกันอย่างเบียดเสียดและแออัด ไม่ควรพกของมีค่าถ้าไม่จำเป็น

การเดินทาง 
รถยนต์  ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ถึง กม.ที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวง 325 สมุทรสงคราม-บางแพ กม.ที่ 36-37 มาทางแยกซ้ายเข้าไปทางที่จะไปอุทยานฯ ร.2 ตลาดน้ำจะอยู่ใกล้กับอุทยานฯ ร.2 สามารถจอดรถที่วัดอัมพวันเจติยาราม และจุดบริการจอดรถของโรงเรียนและเอกชนได้

เตร็ดเตร่สมุทรสงคราม

วัดโบสถ์ในต้นไม้
ตลาดร่มหุบ

ตลาดร่มหุบ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ กีะจาด กระบุง ตะกร้า จะถูกจัดวางเข้าๆ ออกๆ อย่างเป็นระเบียบและรวดเร็วภายในพริบตา แต่เหล่านี้คือมนต์เสน่ห์ของ "ตลาดร่มหุบ" ตลาดเร้าใจ ด้วยมีจุดขายด้วยความเสี่ยงที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะตั้งแผงขายอยู่ริมทางรถไฟของสถานีรถไฟแม่กลองแบบประชิดรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดร่มหุบนั่นเอง

ตลาดร่มหุบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดรถไฟ เป็นส่วนหนึ่งของตลาดเทศบาล จังหวัดสมุทรสงคราม เริ่มประมาณปี 2527 บททางรถไฟ สายแม่กลอง-บ้านแหลม พ่อค้า-แม่ค้า ตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ ส่วนลูกค้าก็อาศัยทางรถไฟเป็นที่จับจ่ายซื้อของ อาหารที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยติดอันดับนั่นก็คือ ปลาทู หน้างอ คอหัก ที่ต้องบอกว่าอร่อยที่สุด โดยเฉพาะหน้าหนาว

แต่ถ้าใครอยากมาเที่ยวที่นี่เพื่อดูร่มหุบแล้วละก็ คงต้องมากันให้ถูกเวลา แนะนำให้มาช่วงเวลารถไฟวิ่งผ่านตลาดร่มหุบ วันละ 8 รอบ (โดยประมาณ) ดังนี้ 06.20 น. 08.30 น. 09.00 น. 11.10 น. 11.30 น. 14.30 น. 15.30 น. และ 17.40 น.

SP_READ_MORE

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ

ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวาประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา วัดจุฬามณี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกุล(ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” ตามประวัติสืบมาได้ว่า วัดนี้สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด จึงมีทรัพย์และรายได้มากชั้นเศรษฐีผู้หนึ่ง จึงได้สร้างวัดจุฬามณีขึ้นมาใหม่ วัดจุฬามณีได้รับความอุปถัมป์ทำนุบำรุงจากมหาอุบาสก และมหาอุบาสิกาสำคัญ ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นต้นราชวงศ์จักรี โดยภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ประสูติของเจ้าผู้ครองประเทศไทยสืบต่อกันมา

ประวัติบ่งชัดว่า เป็นต้นราชตระกูลบางช้าง ข้อสำคัญก็คือ วงศ์ตระกูลราชนิกุลบางช้างนี้ มีต้นกำเนิดไปจากตำบลบางช้างนี้เอง นิวาสถานเดิมของท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้น เป็นพระชนกชนนีของ สมเด็จพระอัมรินทรามาตย์นั้นตั้งอยู่หลังวัดจุฬามณี ซึ่งเดินไปราวสัก ๕ เส้น(หรือราวประมาณ ๕ นาที) บริเวณนิวาสถานนั้นมีต้นจันทน์ใหญ่อยู่ ๓ ต้น แต่ละต้นวัดโดยรอบประมาณ ๒ คนโอบ ระหว่างต้นห่างกันประมาณ ๔ วา กล่าวกันว่าปลูกอยู่ข้างบ้านของท่านเศรษฐีทั้งสอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าต้นจันทน์ได้ทิ้งซากล้มขอนไว้จนผุ ซากนี้ยังคงทิ้งขอนอยู่จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๐

ต่อมาได้ทราบว่าท่านศึกษาธิการอำเภออัมพวาในสมัยนั้น ท่านสนใจต้องการทราบประวัติและหลักฐาน ทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ อันเป็นนิวาสถานเดิมของต้นราชตระกูลแห่งราชวงศ์จักรี จึงได้เดินทางไปสำรวจ แต่ตัวผู้เช่าสวนหรือเจ้าของที่ดินรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้เอาไฟเผาซากตอที่ทิ้งซากล้มขอนนั้นไปจนหมดสิ้นไม่เหลือร่องรอยไว้เลย เข้าใจว่าผู้เช่าหรือเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นเกรงว่าทางราชการจะมายึดที่ดินคืน คงสงวนไว้เพื่อเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ ซึ่งที่ต้นจันทน์ ๓ ต้นนี้ถูกปลูกขึ้นคงอยู่ใกล้นิวาสถานที่ประสูติ และเจริญพระชนม์ชันษา และประทับที่ตำหนักนี้

สมเด็จพระอมรินทรามาตย์(นาค) เป็นพระธิดารูปสวยงดงามของท่านเศรษฐีบางช้าง จนกิตติศัพท์เลื่องลือไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงแสวงหาสตรีรูปงามไปเป็นสนม ได้มีอำมาตย์ใกล้ชิดกราบบังคมทูลว่าธิดาเศรษฐีบางช้างรูปสวยนัก จึงได้จัดส่งคนมาสู่ขอ ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา-มารดาทราบเข้า จึงชิงยกลูกสาวให้แต่งงานกับมหาดเล็กชื่อทองด้วงเสียก่อน มหาดเล็กทองด้วงนั้นภายหลังได้มาเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองแม่กลอง แขวงราชบุรี เมื่อสมรสหรือแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กับศรีภรรยาที่ตำบลบางช้างนี้ ครั้นเมื่อเกิดศึกพม่ายกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรทองด้วง ได้อพยพครอบครัวหลบภัยพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณีนั่นเอง ก่อนที่จะได้ไปฝากตัวเข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ครองกรุงธนบุรี ต่อมาสิ้นแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลวงยกกระบัตรทองด้วงหรือเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งราชวงศ์จักรี สืบต่อมา

SP_READ_MORE

ป่าชายเลนคลองโคน
ค่ายบางกุ้ง

ค่ายบางกุ้้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า "ค่ายบางกุ้ง" โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"

ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากนั้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ.2510 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์

 

โบสถ์ปรกโพธิ์

เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ทั้งยังให้ความขรึมขลังอีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า "โบสถ์ปรกโพธิ์" และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

 

วัดบางกุ้ง

เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า "วังมัจฉา" 

SP_READ_MORE

วัดหลวงพ่อบ้านแหลม

หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปโลหะศิลปะ แบบสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สูงประมาณ 167 เซนติเมตร เป็นพระปางอุ้มบาตร หล่อด้วยทองเหลือง ข้อพระกร 2 ข้าง ถอดออกได้ มีประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการค้นพบในลำน้ำแม่กลอง ดังตำนานเก่าเล่าว่าชาวประมงได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดเก่าแก่ในเมืองแม่กลองที่ชื่อว่าวัดศรีจำปา ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมเรื่อยมา

SP_READ_MORE

ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา


เป็นตลาดน้ำยามเย็นแห่งแรก ด้วยเสน่ห์ของบ้านเรือนสองริมฝั่งที่ยังคงความโบราณไว้เป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ

ตลาดเปิด ทุกวันศุกร์ ตลาดเริ่มตั้งแต่ประมาณ 15.00 น.
เสาร์และอาทิตย์  ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00-20.00 น

SP_READ_MORE

ดอนหอยหลอด

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด

SP_READ_MORE